บทที่ 6 ส่วนแสดงผล


 หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่

       - จอภาพ ( Monitor) เป็นหน่วยแสดงผลทางกายภาพของโปรแกรม ที่ใช้กันมากที่สุดในเวลานี้ จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดที่แสดงภาพเป็นสีเดียว คือ สีเขียว สีอำพัน หรือสีขาว และชนิดที่แสดงภาพสีได้ ขณะที่จอภาพของคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ วางตัก หรือสมุดบันทึก จะมีลักษณะเป็นจอภาพแบนๆ เพราะใช้เทคโนโลยีผลึกเหลวจึงเรียกกันว่าจอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD ) จอภาพชนิดนี้มีทั้งชนิดเป็นภาพสีเดียวและชนิดแสดงภาพสีได้ 






       - เครื่องพิมพ์ ( Printer ) เป็นหน่วยแสดงผล ในรูปแบบผลลัพธ์ของข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ และเหมาะสำหรับใช้เวลาต้องการเก็บผลลัพธ์ของงานเอาไว้อ้างอิง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นผลลัพธ์ถาวร ( Hard Copy ) เครื่องพิมพ์ที่มีจำหน่ายอยู่เวลานี้มีหลายประเภท เช่น
       ก. เครื่องพิมพ์แบบบรรทัด ( Line Printer ) ตามปกตินิยมใช้ในงานที่ต้องการพิมพ์ผลลัพธ์จำนวนมากๆ สามารถพิมพ์ได้ทีละบรรทัด โดยมีความเร็วตั้งแต่ 300 บรรทัดต่อนาที ขึ้นไป
       ข. เครื่องพิมพ์แบบเข็ม ( Dot Matrix Printer ) ตามปกตินิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ใช้เข็มพิมพ์ จำนวน


       ลำโพง ( Speaker ) นิยมใช้แสดงผลลัพธ์ที่เป็นเสียง ทั้งที่เป็นเสียงเพลง เสียงประกอบโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เกมส์ ตลอดจนเป็นเสียงเตือนเมื่อเครื่องต้องการให้เราดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือใช้ระบุเวลาเกิดความผิดพลาดขึ้น




หน่วยความจำ(Memory)
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับ
ข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป
ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) คือ หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้หน่วยประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย 

          หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำเรียกว่าไบต์ (byte) 1 ไบต์ จะประกอบไปด้วย 8 บิต นอกจากนี้ยังมีหน่วยเป็นกิโลไบต์ (kilobyte หรือ KB ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ , เมกะไบต์ (megabyte หรือ MB) มีค่าโดยประมาณหนึ่งล้านไบต์ หรือ 1,024 KB , กิกะไบต์ ( gigabyte หรือ GB ) มีค่าประมาณหนึ่งพันล้านไบต์หรือหนึ่งล้านกิโลไบต์และเทราไบต์ ( terabyte หรือ TB ) มีค่าประมาณหนึ่งล้านล้านไบต์ หน่วยความจุของข้อมูลในหน่วยความจำสรุปได้ดังนี้
8 bits = 1 byte
1024 bytes = 1 kilobyte (KB)
1024 KB = 1 megabyte (MB)
1024 MB = 1 gigabyte (GB)
1024 GB = 1 terabyte (TB)
หน่วยความจำหลักที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมี 3 ประเภท คือ แรม (RAM) รอม (ROM) และซีมอส (CMOS)

                                    
            แรม (RAM)
Random access memory หรือ RAM เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรม บางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (volatile) ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรมและข้อมูลที่ถูกเก็บในหน่วยความจำแรมจะถูกลบหายไป เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าต้องการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในแรมไว้ใช้งานในอนาคตจะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ลงในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) ก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาบางประเภทจะใช้หน่วยความจำ ที่เรียกว่า flash ROM หรือ flash memory ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมไว้ได้
             รอม (ROM)
Read - 0nly memory หรือ ROM เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม
              หน่วยความจำ CMOS
CMOS ย่อมาจาก complementary metal-oxide semiconductor เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ และเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (disk drive) CMOS ใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อสนเทศใน CMOS จึงไม่สูญหายลักษณะเด่นของ CMOS อีกอย่างหนึ่งคือ ข้อสนเทศที่บันทึกใน CMOS สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเพิ่ม RAM และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ

2 หน่วยความจำชั่วคราว (Random Access Memory - RAM)
คือ หน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูลหรืออ่านข้อมูล ณ เวลาใดๆ ได้ตามต้องการ (Random Access) ต้องอาศัยสัญญาณไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลและอ่านข้อมูล ฉะนั้น ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะสูญหายไปทันทีที่ปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยง